การเกษตรทฤษฎีใหม่


เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นวิธีทำการเกษตรโดยประยุกต์พระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการแบ่งพื้นที่และความสัมพันธ์ในการใช้ประโยชน์ ที่ดินกับการใช้น้ำ
เพื่อการเกษตรโดยยึดหลักการธรรมชาติมุ่งใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด คำนึงถึงการรักษาสมดุลของธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้สามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่นั้นยาวนานสืบต่อไป
การเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประพฤติตนอยู่ในความพอดี พอประมาณ มีเหตุผล มีความรู้จริง
เกษตรทฤษฎีใหม่ หมายถึง แนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพสกนิกร ชาวไทย เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ในการทำการเกษตร การส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรได้บริหาร และจัดการเกี่ยวกับดินและน้ำในเกิดประโยชน์สูงสุดในพื้นที่
เพื่อผลผลิต และรายได้มาเลี้ยงตนเองและครอบครัวอย่างพอเพียง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นพร้อมกับการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชน (พัฒนา ประเสริฐสุข และคณะ,2547:11) เกษตรทฤษฎีใหม่เป็นผลงานมาจากพระอัจฉริยะภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงของเรา ซึ่งเกิดจากทรงเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดารทั่วราชอาณาจักร และได้ทรงประสบกับความทุกอยากของเกษตรกร ซึ่งเกิดมาจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ดินเสื่อมคุณภาพ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลและผลกระทบ ที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเคมีอย่างหนักทั้งโรคพืชและศัตรูพืชระบาด




ในเวลาต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริให้ทำการทดลอง "เกษตรทฤษฎีใหม่" เกี่ยวกับการจัดการที่ดินและแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตรขึ้น ณ วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี แนวทฤษฎีใหม่กำหนดขึ้นดังนี้ ให้แบ่งพื้นที่ถือครองทางการเกษตร ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทย มีเนื้อที่ดินประมาณ 10-15 ไร่ต่อครอบครัวเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นแนวคิดในการจัดการบริหารที่ดินของเกษตรกรให้มีสัดส่วน
การใช้พื้นที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดมีหลักการดังต่อไปนี้
1. เป็นวิธีที่สามารถปฏิบัติได้กับเกษตรกรที่เป็นเจ้าของที่ดิน แปลงเล็กประมาณ 15 ไร่ ซึ่งเป็นอัตราถือครอง โดยเฉลี่ยของเกษตรกรไทย
2. มุ่งให้เกษตรกรมีความพอเพียงในการเลี้ยงตนเองได้ ในระดับที่ประหยัดก่อนโดยเน้น ให้เห็นความสำคัญของความสามัคคีในท้องถิ่น
3. สามารถผลิตข้าวได้เพียงพอตลอดปี โดยยึดหลักที่ว่าครอบครัวหนึ่ง ทำนาได้ 5 ไร่ จะมีข้าวพอกินตลอดปี ซึ่งเป็นหลักสำคัญของเกษตรทฤษฎีใหม่
4. ใช้หลักเกณฑ์เฉลี่ยว่าจะมีน้ำใช้ฤดูแล้ง ประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้ ในการทำนา ปลูกพืชสวน พืชไร่ และเลี้ยงปลา

การประกอบอาชีพการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
สามารถทำได้โดยอาศัยหลักการ การทำไร่นาสวนผสมและการเกษตรผสมผสาน การปลูกผักสวนครัวเพื่อใช้เป็นอาหารโปรตีน วิตามินและเกลือแร่ สำหรับบริโภคภายในครอบครัว เป็นการช่วยลดรายจ่ายประจำวัน ปลูกไม้ผลในสวนหลังบ้านหรือรอบ ๆ บ่อเลี้ยงปลา ปลูกข้าวไว้บริโภคในครอบครัว การปลูกไม้ตามหัวไล่ปลายนา การผลิตปัจจัยที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพโดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ต้องทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อปรับปรุงบำรุงดินให้สมบูรณ์ จัดทำน้ำสกัดชีวภาพ เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชและทรัพยากรณ์ ที่มี อยู่ในไร่นา เช่น เศษพืชผักผลไม้ พืชสมุนไพร ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านและแรงงานในครอบครัว ทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อลดรายจ่ายเสริมรายได้ (ชนะ วันหนุน, 2546 : 102 - 103)

แนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรรายย่อย ซึ่งส่วนมากมีที่ดินทำกินเพียง 5-15 ไร่ ต่อครอบครัวเท่านั้น โดยแนวทางแก้ไขนี้เป็นแนวทางที่ครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ที่เกษตรกร เข้าไปเกี่ยวข้องนับตั้งแต่กระบวนการผลิต กระบวนการขายผลผลิตไปจนถึงการรวมตัวกันของเกษตรกรเพื่อให้เกิดเป็นธุรกิจชุมชนและทรงเรียกแนวทางการแก้ไขปัญหานี้ว่า เกษตรทฤษฎีใหม่
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเกษตรทฤษฎีใหม

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำมาใช้กับเกษตรทฤษฎีใหม่ดังนี้
1. พอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อความจำเป็นและเหมาะสมกับฐานะของตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไปและต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดำเนินเรื่องราวต่างๆ อย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ และกฎหมาย หลักศีลธรรม และวัฒนธรรมที่ดีตนในการทำเกษตร โดยคำนึงถึงปัจจัย ที่เกี่ยวข้องอย่างถ้วนถี่และผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
3. ภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงในด้าน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถปรับตัว และรับมือได้อย่างทันท่วงที

เงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิดความพอเพียง
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยความรู้วิชาเกษตรและวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่าง รอบด้าน ความรอบคอบ ความระมัดระวัง ที่จะนำความรู้ เหล่านั้นมาพิจารณา เพื่อประกอบการวางแผน และดำเนินการทุกขั้นตอน
2. เงื่อนไขคุณธรรม เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจ มีความตระหนักในคุณธรรม เช่น ความสามัคคี ไม่ตระหนี่ รู้จักแบ่งปันผู้อื่น มีความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร












ประโยชน์ของเกษตรทฤษฎีใหม่มีดังต่อไปนี้
1. ทำให้เกษตรกรมีกินตามอัตภาพ ในระดับประหยัดไม่อดอยากและเลี้ยงตนเองได้
2. ถ้ามีน้ำพอดีในปีนั้นก็สามารถทำการเกษตรได้ แต่ในหน้าแล้งน้ำน้อยสามารถ นำน้ำที่เก็บไว้ในสระมาปลูกพืชผักต่างๆ ได้ แม้แต่ข้าวยังปลูกได้โดยไม่ต้องพึ่งชลประทาน ดังนั้นเกษตรทฤษฎีใหม่นี้มีไว้เพื่อป้องกันการขาดน้ำ
3. ถ้าในสภาวะปกติ เกษตร ทฤษฎีใหม่สามารถสร้างฐานะ ความร่ำรวย ขึ้นมาได้
4. กรณีเกิดอุทกภัยสามารถ ฟื้นตัว และช่วยเหลือตนเองได้ในระดับหนึ่ง โดยไม่พึ่งการช่วยเหลือ มากเกินไป อันเป็นการประหยัดงบประมาณอีกด้านหนึ่ง


ภาพที่ 5 การเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
ที่มา : ภาพโดยนายสุรไกร แก้วเต็ม
การเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประพฤติตนอยู่ในความพอดี พอประมาณ มีเหตุผล มีความรู้จริง เป็นการจัดการเกี่ยวกับดินและ น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยอาศัยหลักการ การทำไร่นาสวนผสมและการเกษตรผสมผสาน มีการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยน้ำหมัก เพื่อปรับปรุงดินและป้องกันกำจัด ศัตรูพืชเพื่อให้พึ่งพาตนเองได้มากที่สุด และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดกลุ่มที่แข็งแรง ในการต่อรองราคา การจำน่ายผลผลิตโดยมีคุณธรรมสุจริต ยุติธรรม การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน









ใบงานชุดที่ 1.1 การเกษตรทฤษฎีใหม่

ให้นักเรียนโยงเส้นจับคู่ข้อความให้สัมพันธ์กัน







































ใบงานชุดที่ 1.2 การเกษตรทฤษฎีใหม่



1. ให้นักเรียนแต่ละคนออกมาเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการวิธีการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่การใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต
2. ครูและนักเรียนสรุปอภิปรายร่วมกันและบันทึกข้อมูลตามหัวข้อที่กำหนดให้










ใบงานชุดที่ 1.3 การจัดป้ายนิเทศ



1. แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5 – 6 คน
2. ให้นักเรียนหาภาพ วาดภาพหรือหาข่าว ประโยชน์ของเกษตรทฤษฎีใหม่
หลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. แต่ละกลุ่มจัดป้ายนิเทศแสดงผลงานของตนเอง













ขั้นตอนการทำเกษตรทฤษฎีใหม่
ขั้นตอนการทำเกษตรทฤษฎีใหม่มุ่งเน้นพัฒนาการดำรงชีวิตอยู่ในพื้นที่ของตน โดยการพึ่งพาตนเอง เพื่อพัฒนาแบบยั่งยืน โดยอาศัยหลักทฤษฏี 3 ขั้นดังนี้(สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2550 : 187 – 189)



ขั้นที่ 1 ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น พื้นฐานของเกษตรกร คือ มีพื้นที่น้อย ค่อนข้างยากจน อยู่ในเขตเกษตรน้ำฝนเป็นหลัก โดยในขั้นนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเสถียรภาพของการผลิตอาหาร ประจำวัน ความมั่นคงของรายได้ ความมั่นคงของชีวิต และความมั่นคงของชุมชนชนบท เป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองได้ มีการจัดสรรพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากอัตราถือครองที่ดินเกษตรกรเฉลี่ยครอบครัวละ 15 ไร่ หากเกษตรกรมีพื้นที่ ถือครองน้อยหรือมากกว่านี้สามารถนำไปปรับเป็นเกณฑ์ใช้ได้
ส่วนที่ 1 สระน้ำ 3 ไร่ ของพื้นที่ทั้งหมดโดยประมาณ เป็นพื้นที่ต้องขุดเป็นสระน้ำ
เพื่อใช้ในการเพาะปลูกพืชและยังเป็นแหล่งกักเก็บน้ำเอาไว้ในภาวะที่ขาดแคลน เพื่อใช้เก็บกัก น้ำฝนในฤดูฝนและใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่าง ๆ เช่นเลี้ยงปลา ปลูกผักบุ้ง ปลูกผักกะเฉด ได้ด้วย







ภาพที่ 6 พื้นที่ส่วนหนึ่งขุดสระน้ำ
ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library/new_land/

ส่วนที่ 2 พื้นที่นาข้าว 5 ไร่ ของพื้นที่ทั้งหมด เอาไว้ใช้ปลูกข้าวโดยให้มีเพียงพอต่อการบริโภคในครอบครัว ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี เพื่อลดค่าใช้จ่าย และสามารถพึ่งตนเองได้







ภาพที่ 6 พื้นที่ส่วนหนึ่งขุดสระน้ำ
ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library/new_land/

ส่วนที่ 3 พืชไร่พืชสวน 5 ไร่ ของพื้นที่ทั้งหมดเอาไว้เพาะปลูกพืชต่าง ๆ เช่น ไม้ผล พืชไร่ ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ผักสมุนไพร ปลูกเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันหากเหลือบริโภค ก็นำไปจำหน่าย







ภาพที่ 7 พื้นที่ส่วนหนึ่งปลูกพืชไล่สวน
ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library/new_land/






ส่วนที่ 4 ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ 2 ไร่ ของพื้นที่ทั้งหมด ใช้เป็นพื้นที่ในการทำที่อยู่อาศัยรวมทั้งการปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างอื่นๆ เช่น โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ โรงเพาะเห็ด และโรงเรือนอื่น ๆ เช่น ถนน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัว เป็นต้น








ภาพที่ 8 พื้นที่ส่วนหนึ่งปลูกพืชไล่สวน
ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library/new_land/




ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นการรวมกลุ่ม“ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า” เป็นการดำเนินการ มุ่งความพอเพียงในระดับชุมชน เกษตรกรรวมพลังกันในรูป กลุ่มหรือสหกรณ์ รวมแรงร่วมใจกัน
1. เกษตรกรต้องร่วมมือกัน ดังนี้
1.1 การร่วมมือกันในด้านพันธุ์พืช พันธุ์พืชเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งในการประกอบอาชีพการเกษตร หากมีการแบ่งปันหรือแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันภายในชุมชนแล้ว จะทำให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนในการประกอบอาชีพ
1.2 การร่วมมือกันในการเตรียมดิน การเตรียมดินก่อนการปลูกพืชเป็นงานที่สำคัญอย่างหนึ่งหากเกษตรกรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนเครื่องมืออุปกรณ์และแรงงานกัน ดังที่เกษตรกรทั่วไปเรียกว่า เอาแรงกัน จะทำให้ประหยัดแรงงานและค่าใช้จ่าย




1.3 การร่วมมือกันทำงาน เช่น การปลูกพืช การกำจัดวัชพืช การเก็บเกี่ยวผลิตผล กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ ควรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ร่วมมือร่วมแรงกัน ดังกรณีประเพณี การลงแขก ของชาวนาไทย
1.4 การช่วยเหลือกันในการจัดการแหล่งน้ำ หากมีการช่วยเหลือกันในการขุดสระน้ำ หรือในกรณีที่ขาดน้ำ มีการแบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะเป็นการแก้ปัญหาหรือลดปัญหาในการขาดแคลนน้ำได้


ภาพที่ 9 การร่วมมือร่วมใจเป็นประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว
ที่มา : ถ่ายภาพโดย นายสุรไกร แก้วเต็ม
2. การตลาด เมื่อมีการผลิตแล้วต้องเตรียมการเพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด
2.1 ลานตากข้าว การทำลานตากข้าวนั้นประสบกับปัญหาอยู่เสมอ เช่น มีปัญหาเรื่องเงิน แรงงาน เกษตรกรมีพื้นที่จำกัด ดังนั้นเกษตรกรควรร่วมมือกันในการจัดทำและใช้ลานตากข้าวร่วมกัน โดยกำหนดระยะเวลาการใช้ให้เหมาะสม เช่น กำหนดระยะเวลาเก็บเกี่ยวและตากข้าวไม่พร้อมกัน
2.2 ยุ้งข้าวหรือยุ้งฉางเก็บรักษาเมล็ดพืชไร่ ยุ้งฉางมีไว้เพื่อเก็บรักษาผลิตผลในกรณีที่ยังไม่พร้อมที่จะขาย หรือในช่วงที่มีราคาตกต่ำ เกษตรกรในชุมชนควรร่วมมือร่วมใจกัน



2.3 เครื่องสีข้าว เกษตรกรควรรวมกลุ่มกันเพื่อจัดหาหรือจัดตั้งเครื่องสีข้าว สำหรับใช้ในชุมชนของตนเอง จะทำให้ขายข้าวได้ในราคาสูง ไม่ต้องขายให้พ่อค้าคนกลาง และยังสามารถ สีข้าว ไว้บริโภคเอง เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย
2.4 การจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร การนำมาจำหน่ายร่วมกันในรูปของกลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์ เกษตรกรก็จะสามารถจำหน่ายได้ในราคาสูง นอกจากนี้การรวมกลุ่ม ทำให้มีพลังในการต่อรอง
3. การเป็นอยู่เกษตรกรควรพึ่งพาอาศัยและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยพื้นฐาน จำพวกอาหารการกิน เช่น พริก เกลือ น้ำปลา กะปิ น้ำมันพืช เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มก็สามารถแลกเปลี่ยนหรือแบ่งปันกันได้และสามารถซื้อหาเฉาะสิ่งที่จำเป็นได้
4. สวัสดิการ ในแต่ละชุมชนควรจัดตั้ง จัดหาสวัสดิการต่างๆ สำหรับชุมชน เช่น กองทุนเงินกู้ยืมสำหรับสมาชิก รวมทั้งการบริการในด้านสุขอนามัยในชุมชน สวัสดิการต่างๆ เหล่านี้เกษตรกรจะต้องร่วมมือร่วมใจกันจัดตั้งขึ้น เพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ
5. การศึกษา การศึกษาจะเป็นส่วนช่วยให้สังคมและชุมชนอยู่อย่างมั่นคงและมีความสุข ดังนั้นเกษตรกรที่ร่วมดำเนินการเกษตรทฤษฎีใหม่ควรมีบทบาทในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา เช่น จัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษา จัดหาวัสดุอุปกรณ์การศึกษาที่จำเป็นไว้บริการภายในชุมชน เพื่อประโยชน์ ในการเล่าเรียนของบุตรหลานเกษตรกรเอง
6. สังคมและศาสนา ชุมชนจะอยู่อย่างสงบสุขได้จะต้องมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เช่น การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาร่วมกัน วัด โรงเรียน ตลาด ลำคลอง เกษตรกรในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนาให้มีสภาพดีแล้ว ชุมชนก็สามารถใช้ร่วมกัน และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

















หลังจากที่ชุมชนรวมพลัง ร่วมแรง ร่วมใจกัน ดำเนินงานจนเกิดประสิทธิผล และสังคมอยู่อย่างอบอุ่น มั่นคง และมีความสุขไปแล้ว ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 เป็นการดำเนินการด้านธุรกิจ เป็นการติดต่อประสานและร่วมมือกับองค์กรนอกกลุ่มเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการเงิน จัดหาแหล่งเงินทุนมาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น ธนาคาร บริษัท ห้างร้านเอกชน เป็นต้น ทั้งนี้ฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารและบริษัทจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน
เช่น อาจเป็นประโยชน์ ในการลดต้นทุนการผลิต สามารถเข้าถึงแหล่งทุน มีช่องทางตลาดสำหรับผลผลิตกว้างขวางขึ้น ขายผลผลิตได้ในราคาที่เหมาะสม ประหยัดต้นทุนในการซื้อขายแลกเปลี่ยน
การมีประโยชน์ร่วมกันระหว่างเกษตรกร และองค์กรนอกกลุ่มเกษตรกร มีดังนี้
1. ผลิตผลทางการเกษตรได้รับการพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นราคาสูง เนื่องจากไม่ถูกกดราคา
จากพ่อค้าคนกลาง เพราะเป็นการจำหน่ายแก่ผู้ซื้อโดยตรง
2. เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาสูง
3. ธนาคาร สามารถซื้อผลผลิตทางการเกษตรได้จากเกษตรกรโดยตรง
4. เกษตรกรสามารถซื้อเครื่องอุปโภคใด้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก ร้านสหกรณ์สามารถซื้อได้ในราคาขายส่ง













ก่อนปฏิบัติกิจกรรมตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ ควรพิจารณาข้อมูลต่างๆ ดังนี้
1. การดำเนินการตามทฤษฎีใหม่ มีปัจจัยประกอบหลายประการ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น ดังนั้นต้อง เกษตรกรควรขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่
2. การขุดสระน้ำ ต้องเก็บน้ำได้เพราะดินในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน เช่น ดินร่วน ดินทราย ซึ่งเป็นดินที่ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ หรือเป็นดินเหนียว ดินเค็ม ซึ่งอาจไม่เหมาะกับพืชที่ปลูกได้ ดังนั้นจะต้องพิจารณาให้ดีและขอคำปรึกษา จากเจ้าหน้าที่
3. ขนาดของพื้นที่ อัตราถือครองที่ดินของเกษตรกร ซึ่งเฉลี่ยครอบครัวละประมาณ 15 ไร่ หากพื้นที่การถือครองของเกษตรกรจะมีมากหรือน้อยก็ตาม สามารถนำอัตราส่วน(30:30:30:10) ไปปรับใช้ได้โดยไม่มีหลักตายตัว
4. การปลูกพืชหลายชนิดรวมกัน เช่น ปลูกข้าวเป็นพืชหลัก ไม้ผล พืชผัก พืชไร่ และสมุนไพร หรือสัตว์อื่นๆ ซึ่งเกษตรกรสามารถนำมาบริโภคได้ตลอดปีเป็นการลดค่าใช้จ่ายในส่วนอาหารสำหรับครอบครัวที่เหลือก็นำไปจำหน่ายเสริมรายได้อีกทางหนึ่ง
5. ระหว่างขุดสระน้ำ หน้าดินซึ่งเป็นดินดีควรนำไปกองไว้ต่างหาก เพื่อทำการปลูก พืชภายหลัง โดยนำดินมาเกลี่ยคลุมดินชั้นล่างที่เป็นดินไม่ดี
6. ความร่วมมือร่วมใจของชุมชน เช่นการลงแรงร่วมช่วยเหลือกันนอกจากจะทำให้
เกิดความรัก ความสามัคคีในชุมชนแล้วยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานอีกด้วย











ภาพที่ 10 การเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
ที่มา : ถ่ายภาพโดย นายสุรไกร แก้วเต็ม



ภาพที่ 4 การเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง


















ขั้นตอนการทำเกษตรทฤษฏีใหม่ เป็นการผลิตแบบพึ่งตนเอง ให้พออยู่พอกินไม่อดอยาก โดยการมีน้ำ ปลูกข้าว ปลูกพืชผสมผสาน ทำที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ทำปุ๋ยคอกเพื่อบำรุงดิน ทำปุ๋ยหมักเพื่อลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี ตลอดจนการทำการสกัดสารสารชีวภาพจากสมุนไพร เพื่อป้องกันกำจัดศรัตรูพืช เมื่อพึ่งตนเองได้ก็ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และร่วมค้าขายสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน
















ใบงานชุดที่ 2.1 ขั้นตอนการทำเกษตรทฤษฎีใหม่

ให้นักเรียนโยงเส้นข้อความให้สัมพันธ์กัน























ใบงานชุดที่ 2.2 แบบฝึกหัด


ให้นักเรียนใส่เครื่องหมายถูกน่าข้อความที่ถูกและใส่เครื่องหมายผิดน่าข้อความที่ผิด
1. การทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ทำได้ทุกสถานที่
2. การขุดสระเก็บกักน้ำเพื่อทำเกษตรทฤษฎีใหม่ต้องคำนึงถึง ดินร่วน ดินทราย
3. ขนาดของพื้นที่ทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ต้องมีอัตราส่วน 30 : 30 : 30 : 10 เท่านั้น
4. การปลูกพืชหลายชนิดรวมกันเป็นการทำเกษตรทฤษฎีใหม่
5. การร่วมมือร่วมใจในชุมชนสามารถลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงาน
6. การทำการเกษตรวิธีอื่นได้ผลอยู่แล้วไม่ควรทำการเกษตรทฤษฎีใหม่
7. หากสภาพภูมิประเทศไม่เหมาะสมต้องทำการเกษตรทฤษฎีใหม่
8. พื้นที่น้อยกว่า 15 ไร่ ทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ไม่ได้
9. ถ้ามีสระน้ำอยู่แล้วถ้าทำเกษตรทฤษฎีใหม่ควรขุดสระน้ำให้ใหญ่กว่าเดิม
10. การปลูกพืชต้นใหญ่บริเวณคันสระน้ำสามารถป้องกันการพังทะลายของดินได้










ภาพที่ 11 การประยุกต์ใช้เกษตรทฤษฎีใหม่ในโรงเรียนบ้านสงเปลือย
ที่มา : ถ่ายภาพโดย นายสุรไกร แก้วเต็ม

ใบงานชุดที่ 2.3 การปรับใช้เกษตรทฤษฎีใหม่ในโรงเรียน




1. แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 4 - 6 คน
2. ให้นักเรียนศึกษาการทำเกษตรทฤษฎีใหม่และปรับใช้ในโรงเรียนของเรา



1. กลุ่มของนักเรียนทำอะไรบ้าง

2. กลุ่มของนักเรียนแบ่งหน้าที่กันอย่างไร

3. การทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ในโรงเรียนประสบความสำเร็จหรือไม่อย่างไร







แบบทดสอบหลังเรียน
วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความรู้พื้นฐานของนักเรียน เรื่องการผลิตพืชปลอดสารเคมี เล่ม 1
การเกษตรทฤษฎีใหม่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำแนะนำ ให้นักเรียนอ่านคำถามต่อไปนี้ทีละข้อ แล้วเขียนเครื่องหมาย X ทับตัวอักษร
ก. ข. ค. ง. ในกระดาษคำตอบที่เห็นว่าตรงกับความคิดของนักเรียน ใช้เวลาทำ
ข้อทดสอบ 10 นาที แล้วตรวจคำตอบในภาคผนวก


1. ข้อใดคือเหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริในการทำเกษตร
ทฤษฎีใหม่
ก. ดินเสื่อมคุณภาพ
ข. ศัตรูพืชธรรมชาติ
ค. ฝนตกไม่ตามฤดูกาล
ง. ความทุกข์ยากของเกษตร
2. ข้อใดคือความหมายของเกษตรทฤษฎีใหม่
ก. การจัดการเกี่ยวกับดินและน้ำให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด
ข. การดำรงชีวิตอยู่อย่างประมาณตาม
ฐานะตามอัตภาพ
ค. การจัดการให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่
อย่างพอเพียงในครอบครัว
ง. เกษตรกรไม่หลงใหลไปตามกระแส
ของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ
3. ปรัชญาของการเกษตรทฤษฎีใหม่คืออะไร
ก. ความรู้ คุณธรรม
ข. พอประมาณ มีเหตุผล ภูมิคุ้มกันที่ดี

ค. ทางสายกลาง พอเพียงรอบรู้
ระมัดระวัง
ง. ความพอดี ความมีเหตุผล มีหลัก
ศีลธรรม
4. ข้อใดคือหลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่
ที่สำคัญที่สุด
ก. มุ่งให้เกษตรกรมีความสุข
ข. เป็นวิธีปฏิบัติกับเกษตรกรที่มีที่ดิน
ค. สามารถผลิตข้าวได้เพียงพอตลอดปี
ง. หลักเกณฑ์การใช้น้ำในช่วงฤดูแล้ง
ทำการเกษตร
5. การกระทำข้อใดที่ได้รับประโยชน์จาก
เกษตรทฤษฎีใหม่
ก. นายขาวทำนาตลอดปี
ข. นายดำมีอยู่มีกินตามฐานะ
ค. ในสภาวะปกติ เกษตรมีเวลาพักผ่อน
ง. เมื่อเกิดอุทกภัย ก็สามารถฟื้นตัว และ
ช่วยเหลือตนเองได้ในระดับหนึ่ง